มีหลักฐานทางวิชาการว่าการรับประทานเกลือมากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เข่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
โรคอัมพาต โรคไต กระดูกพรุน เป็นต้น
ความดันโลหิตสูง
จากหลักฐานทางวิชาการพบว่า การรับประทานอาหารเค็มจะส่งเสียต่อความดันเมือนกับการสูบบุหรี่ การออกกำลัง การลดน้ำหนักก็ยังลดความดันโลหิตไม่เท่าการลดอาหารเค็มการลดเกลือลงวันละ 3 กรัมจะลดความดันลงได้ 5/3 มม ปรอทสำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูง ลดลงได้ 3/1 ในคนที่ความดันปกติ เชื่อว่าการลดเกลือลงวันละ 6 กรับจะสามารถลดโรคหลอดเลือดสมองลงได้ร้อยละ 24 ลดโรคหัวใจได้ร้อยละ 18 หากลดเกลือลง 9 กรับจะลดโรคหลอดเลือดสมองลงได้หนึ่งในสาม ลดโรคหัวใจได้หนึ่งในสี่
โรคหัวใจ
อาหารเค็มนอกจากทำให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว เกลือยังทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
โรคมะเร็ง
เกลือมีผลโดยตรงกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร พบว่ามีความสัมพันธ์กันหากรับประทานเค็มมากจะพบมะเร็งกระเพาะอาหารสูงขึ้น ทั้งนี้เชื่อว่าอาหารที่เค็มจะทำให้เยื่อบุผิวกระเพาะอาหารเสียทำให้เชื้อโรคเกิดการติดเชื้อ H-pylori infection ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคไต
มีการทดลองในสัตว์พบว่าการรับประทานเกลือน้อยจะลดการเสื่อมของโรคไต สำหรับในคนพบว่าการรับประทานเค็มจะทำให้ไตขับไข่ขาว proteine/albumin วึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไต และโรคหัวใจ นอกจากนั้นเกลือยังทำให้ความดันโลหิคสูงซึ่งจะทำให้ไตเสื่อมลง สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตซึ่งการขับเกลือไม่ดีหากรับประทานเกลือมากจะทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือ เกิดโรคหัวใจวายได้
การเกิดโรคนิ่วและกระดูกพรุน
พบว่าการรับประทานเกลือมากจะทำให้ร่างกายขับทั้งเกลือและแคลเซี่ยมทางปัสสาวะซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดนิ่วในไต การที่แคลเซี่ยมถูกขับออกมากร่างกายก็จะนำแคลเซี่ยมจากกระดูกมาทดแทนทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน การลดปริมาณเกลือจาก 10กรัมเหลือ 5 กรับจะมีผลเหมือนการรับประทานแคลเซี่ยมวันละ 1000 กรัม
โรคหอบหืด
พบว่าการกำเริบของโรคหอบหืดสัมพันธ์กับการรับประทานเค็ม หากลดอาหารเค็มก็จะลดการกำเริบของโรคหอบหืด
โรคอ้วน
การรับประทานเค็มจะทำให้หิวน้ำบ่อย และหากดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้จะทำให้น้ำขึ้นจากพลังานส่วนเกิน
การคั่งของน้ำและเกลือ
หากเรารับประทานเค็มจะเกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากเกิดการคั่งมากๆ น้ำจะออกมานอกหลอดเลือดทำให้เกิดอาการบวมดดยเฉพาะที่เท้าเวลาสายๆ และยังพบว่าบวมหลังจากการนั่งเดินทางนานๆ
Credit : http://www.siamhealth.net