ขี้เหล็ก เป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้วในตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลายๆ ด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม เป็นต้น และนอกจากนี้ขี้เหล็กยังมีสาร
“บาราคอล” (Baracol) ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาท และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ ทำให้นอนหลับสบาย แต่ก็ใช้ว่ามันจะได้ผลอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในกระบวนการปรุงอาหารให้ปลอดภัยก็ต้องต้มน้ำทิ้งเสียก่อน เพื่อลดความขมและความเฝื่อน ทำให้ความเป็นพิษและฤทธิ์ดังกล่าวลดน้อยลงไปด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น ทั้งต้น และราก
โทษของขี้เหล็ก การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือดเทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย
ประโยชน์ของขี้เหล็ก
- ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
- ดอกขี้เหล็กมีวิตามิน ที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ดอก)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ดอก)
- ช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
- แก้ธาตุพิการ แก้ไฟ ทำให้ตัวเย็น (แก่น)
- ช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
- ช่วยแก้โรคกระษัย (ราก,ลำต้นและกิ่ง,เปลือกต้น,ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาอาการตัวเหลือง (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ,แก่น)
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
- ช่วยรักษาวัณโรค (แก่น)
- ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ดอก)
- ช่วยรักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (แก่น)
- ช่วยแก้ชักในเด็ก (ราก)
- แก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้อาการแสบตา (แก่น)
- ใบขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่า “แอนไฮโดรบาราคอล” (Anhydrobarakol)ที่มีสรรพคุณช่วยในการคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน (ใบ)
- ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้โรคประสาท และช่วยสงบประสาท (ดอก)
- ช่วยทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการนอนไม่หลับ ผ่อนคลายความกังวล ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไวดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบ,ดอก)
- ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้อบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้มีอาการระส่ำระส่ายในท้อง (ฝัก)
- ช่วยรักษาหืด (ดอก)
- ช่วยรักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ (ดอก)
- สรรพคุณของขี้เหล็กช่วยบำรุงโลหิต (ใบ)
- ช่วยขับโลหิต (แก่น)
- ช่วยขับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- แก้เลือดกำเดาไหล (ต้น,ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง (ราก)
- ช่วยดับพิษไข้ (เปลือกต้น,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ (เปลือกต้น,ฝัก)
- ช่วยแก้พิษเสมหะ (ทั้งต้น)
- ช่วยกำจัดเสมะหะ (ใบ)
- ช่วยขับมุตกิด กัดเถาดัน กัดเสมหะ และกัดเมือกในลำไส้ (เปลือกฝัก)
- ขี้เหล็กสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน (ใบ)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)
- แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไวดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบแห้ง,ใบอ่อน)
- ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ใบอ่อน,แก่น)
- ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
- ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ดอก,ใบ,แก่น,ลำต้นและกิ่ง,เปลือกต้น,ราก,ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
- สรรพคุณขี้เหล็กช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ,ลำต้นและกิ่ง)
- ช่วยรักษานิ่วในไต (ใบ,ลำต้นและกิ่ง)
- ช่วยรักษาโรคหนองใน (แก่น,ทั้งต้น)
- รักษาแผลกามโรค (ราก,แก่น)
- ช่วยแก้หนองใส (แก่น)
- ช่วยขับระดูขาว (ใบ,ลำต้นและกิ่ง)
- ช่วยฟอกโลหิตในสตรี (ต้น)
- ช่วยขับพยาธิ (ใบ,ดอก)
- ช่วยรักษาอาการเหน็บชา (ใบ,ราก)
- รากใช้ทาแก้อัมพฤกษ์ให้หย่อน (ราก)
- ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน (ทั้งต้น)
- แก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือกฝัก)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ลำต้นและกิ่ง)
- ช่วยรักษาโรคหิด (เปลือกต้น)
- ช่วยรักษาฝีมะม่วง (ใบ)
- ทางภาคใต้ใช้รากขี้เหล็กผสมกับสารส้ม นำมาทาแผลฝีหนอง (ราก)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก,ลำต้นและกิ่ง)
- ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยรักษารังแค ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็กผสมกับมะกรูดย่างไฟ 2 ลูก โดยต้องย่างให้มีรอยไหม้ที่ผิวมะกรูดด้วย ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็ก 2 ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 ช้อนชา นำมาปั่นผสมกันแล้วเติมน้ำปูนใส 100 cc. ปั่นจนเข้ากัน แล้วคั้นกรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำมันมะกอกเติมผสมเข้าไปประมาณ 60-100 cc. ผสมจนเข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนการสระผมทุกครั้ง จะช่วยรักษารังแคได้ (ดอก)
- ใช้ทำปุ๋ยหมัก (ใบแก่)
- ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานหรือทำเป็นแกงขี้เหล็กได้ (ดอก)
Credit : Greenerald.com