กล้วยดิบ
เปลือกภายนอกสีเขียวเข้ม ช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และด้วยตัวกล้วยดิบเองซึ่งมีฤทธิ์ในการลดกรดในกระเพาะ จึงเป็นยาทางธรรมชาติที่รักษา
โรคกระเพาะที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันทั่วไป กล้วยดิบไม่สามารถรับประทานสดๆ ได้ วิธีการจึงต้องนำกล้วยมาฝานเป็นแว่นๆ แล้วอบด้วยความร้อนต่ำไม่เกิน 50 องศา จนแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา 3 ครั้งก่อนอาหาร โดยสามารถผสมกับน้ำผึ้งเพื่อให้รสชาติดีขึ้นง่ายต่อการรับประทาน
กล้วยห่าม
หรือกล้วยกึ่งดิบกึ่งสุก เปลือกภายนอกสีเหลืองแต่มีสีเขียวประปราย สามารถรับประทานได้สดๆ รสชาติไม่หวานจัดอาจติดรสฝาดเล็กน้อย กล้วยห่ามมีโพแทสเซียมสูง จึงให้ผลดีกับผู้มีอาการท้องเสียเนื่องจากผู้ป่วยจะสูญเสียโพแทสเซียมออกจากร่างกายมาก ซึ่งหากขาดมากอาจมีผลกระทบกับการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้กล้วยห่ามยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเพิ่ม
กากใยในการขับถ่ายให้กับผู้ป่วย สารเซโรโทนินในกล้วยห่ามยังช่วยออกฤทธิ์ กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกมากขึ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
กล้วยสุก
สีเหลืองสด รสชาติอร่อยที่ปกติเราชอบรับประทานกัน ให้ผลตรงกันข้ามกับกล้วยห่าม เนื่องจากเป็นยาระบายอ่อนๆ ให้ผลดีกับคนที่มีอาการท้องผูก เพราะมีสารเพ็กตินอยู่มาก เพ็กตินเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและที่สำคัญเป็นอาหารของแบ็คทีเรียในลำไส้ หรือ prebiotic ตามธรรมชาติ จึงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมากๆ ต้องรับประทานวันละ 5-6 ลูกเพื่อให้ได้ผลดี
กล้วยงอม
กล้วยสุกจัดผิวคล้ำไม่สดสวย ที่หลายๆ คนไม่ชอบรับประทาน แต่กลับให้ผลดีอย่างมากมายในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคภัยต่างๆ เพราะช่วยเพิ่มเซลเม็ดเลือดขาว และมีสารที่เรียกว่า TNF (Tumor Necrosis Factor) ซึ่งมีความสามารถในการต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ และยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ มีจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เกิดสารเสริมภูมิต้านทานนี้มากขึ้น การรับประทานกล้วยสุกจัดเป็นประจำวันละ 1-2 ลูกยังช่วยเสริมภูมคุ้มกันโรคหวัด ไปในตัวค่ะ
Credit : Guru.google.co.th