เว็บไซต์โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คอลัมน์ Harvard Health Letter เดือนพฤศจิกายน ได้เผยแพร่และเตือนเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์
ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) เป็นยาแก้ปวดที่มีศักยภาพเสพติดสูง มักใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น สำหรับการรักษาอาการปวดอย่างรุนแรงหลังการผ่าตัด สำหรับอาการปวดผ่าตัดเล็กหรือการบาดเจ็บ ไม่ควรใช้ยาเกิน 7 วัน และหากใช้ติดต่อกันนานเกิน 30 วัน อาจทำให้เสพติด ซึ่งหมายความผู้ใช้จะเกิดอาการถอนยา(ลงแดง)ได้ทันทีเมื่อหยุดการใช้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต และการติดยาประเภทนี้จะไม่เหมือนกับการติดยาเสพติดทั่วไป ซึ่งเป็นลักษณะการบังคับและให้หมกมุ่นกับเรื่องยาเสพติดที่จะส่งผลรบกวนต่อชีวิตปกติ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดในกรณีที่ไม่ร้ายแรงมากนัก
แต่บางครั้งจะมีการใช้ยาในระยะยาว สำหรับการบรรเทาอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ซึ่งการหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้ยาแก้ปวดประเภทนี้ กลับไม่ใช่วิธีที่ดีเพราะจะให้ผลในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ได้รับความเจ็บปวดที่รุนแรงจะจดจำความเจ็บปวดนั้นได้ และจะต้องการใช้ยาในปริมาณที่สูงขึ้น
จะเห็นได้ว่า ยาแก้ปวด ไม่ใช่ยาที่จะหาซื้อมาทานได้ตามอำเภอใจ เพราะเราอาจไม่ทราบว่ายาแก้ปวดยี่ห้อที่ซื้อมานั้น จัดอยู่ในกลุ่มโอปิออยด์หรือไม่ ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นในการสั่งจ่ายยา
Credit : จิราภา ภิญญสาสน์ , เดลินิวส์ออนไลน์