ถั่วพู ผักเพื่อสุขภาพ

ถั่วพู ผักเพื่อสุขภาพ

ผักถั่วพู

      จัดเป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ลาว พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี และในปัจจุบันถั่วพูก็เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในฟลอริดาของอเมริกา

ลักษณะของต้นถั่วพู

      จัดเป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้แต่มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยพัน เป็นพืชที่มีลำต้นสีเขียวและเขียวปนม่วง ส่วนของรากเป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก ถั่วพูเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ยกเว้นในดินที่มีน้ำขัง ขึ้นได้ในระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงที่ 2,300 เมตร ขยายพันธุ์และเพาะปลูกด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการเพาะกล้า

สรรพคุณถั่วพู

  • กระตุ้น และเสริมสร้างการเติบโต
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • บำรุงหัวใจ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
  • เสริมสร้างกระดูก และลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

ข้อแนะนำการทาน

  • นำถั่วพูมาแช่น้ำแข็งก่อนรับประทานจะช่วยให้ได้รับความกรอบ และความสดมากขึ้น
  • ฝักถั่วพูที่เก็บมา ควรรับประทานภายใน 3 วัน หรือหากเก็บไว้นานควรแช่เย็นไว้ เพราะเก็บไว้นานจะทำให้ฝักถั่วพูเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้เร็ว ทำให้ไม่น่ารับประทาน และความกรอบจะน้อยลง

วิธีทำ เมนูยำถั่วพูกุ้งสด

  • ทอดพริกแห้ง กุ้งแห้ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เจียวหอมแดง คั่วถั่วลิสงแล้วตำพอหยาบ และคั่วมะพร้าวขูด เตรียมไว้
  • รวนหมูสับแค่พอสุก และลวกกุ้งพอสุกเช่นเดียวกัน
  • ทำไข่ต้มยางมะตูม โดยต้มน้ำจนเดือดแล้วค่อยนำไข่ใส่ลงไป นับเวลาไป 7 นาที
  • นำถั่วพูไปซอยเป็นชิ้นเล็ก ใครจะลวกก่อนนำมาหั่นก็ได้ ในสูตรซอยถั่วพูก่อนแล้วนำไปลวก
  • ทำน้ำยำ โดยใส่น้ำพริกเผาลงอ่างผสม ตามด้วยน้ำตาลทราย น้ำปลา น้ำมะนาว และพริกตำกับกระเทียม เติมหัวกะทิตามด้วยถั่วลิสงคั่วตำหยาบ กุ้งแห้งตำหยาบ และมะพร้าวคั่ว คนส่วนผสมให้เข้ากัน
  • ใส่หมูที่รวนไว้และกุ้งลวก ชิมรสตามชอบ ใส่ถั่วพูที่ลวกไว้ และหอมแดงซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน เตรียมไว้
  • ผ่าไข่ต้มยางมะตูมด้วยเชือก หรือด้ายเส้นเล็กค่ะ จัดใส่จาน ตักยำถั่วพูลงในจาน แต่งหน้าด้วยหอมเจียว กุ้งแห้งทอดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอด และพริกทอด

การปลูกถั่วพู

      การปลูกถั่วพูใช้เพียงวิธีเดียว คือ การปลูกด้วยเมล็ด ซึ่งนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไม่เกิน 1 ฤดูเก็บเกี่ยว จึงเปลี่ยนปลูกรุ่นใหม่

ที่มา: www.puechkaset.com
 1622
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์