ความเผ็ด เป็นอีกรสชาติที่ขาดไม่ได้ในอาหารหลายๆ จาน และความเผ็ดนั้น ส่วนใหญ่ก็จะได้มาจาก “พริก” ไม่ว่าจะเป็นพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกหยวก ฯลฯ ซึ่งพริกแต่ละชนิดก็จะให้ระดับความเผ็ดที่แตกต่างกันไป
นอกจากจะให้ความเผ็ดแล้ว “พริก” ก็ยังมีคุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณที่มากกว่าการช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารจานต่างๆ อีกด้วย
- พริกมีวิตามินสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก มีกรดแอสคอร์บิค ที่จะช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหาร เพื่อให้ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่ายของเสีย และนำธาตุอาหารต่างๆ ไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย
- พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น พริกช่วยให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ฉะนั้นคนที่เป็นหอบหืดหรือภูมิแพ้ หากบริโภคพริกไปแล้วจะดีมาก
- ในพริกยังพบสารแคปไซซิน ที่ทำให้เกิดความเผ็ดในพริก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่างๆ ของร่างกาย และช่วยบรรเทาอาหารปวดและแสบร้อนจากการอักเสบตามที่ต่างๆ เช่น โรคเริม งูสวัด ปวดอักเสบตามข้อจากรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม และอาการปวดฟกช้ำทั้งหลาย
- พริกช่วยเพิ่มสารแห่งความสุข หรือเอ็นโดรฟิน สังเกตได้จากหลังกินอาหารเผ็ดๆ แล้วเหงื่อออก จะรู้สึกสดชื่นสบายตัวมากขึ้น มีชีวิตชีวามากขึ้น และความเผ็ดจากพริกก็ยังช่วยเรียกน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ การบริโภคพริกเข้าไป หรือการกินเผ็ดก็ควรจะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่กินเผ็ดมากเกินไปจนกลายเป้นโรคกระเพาะ และต้องกินพริกให้ถูกจังหวะเวลา ไม่กินเผ็ดจัดในขณะที่ท้องว่าง หากทำได้อย่างนี้แล้วก็จะได้รับประโยชน์จากพริกไปแบบเต็มๆ
Credit : http://www.manager.co.th