ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของบัวหลวง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของบัวหลวง

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของบัวหลวง

 

 

 

1. สาร อัลคาลอยด์ที่พบในบัวหลวง มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ โดยสารสกัดเมทานอลจากเหง้า ในขนาด 200 มก./กก. และขนาด 400 มก./กก. จะมีผลช่วยลดการอักเสบในหนู และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Phenylbutazone และ Dexamethasone ทั้งการทดสอบในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง

 

2. สาร บริสุทธิ์ที่แยกได้จากบัว มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ HIV โดยสาร (+)-1(R)-coclaurine และสาร 1(S)-norcoclaurine มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง โดยมีค่า EC50 = 0.8 และน้อยกว่า 0.8 กรัม./ไมโครลิตร โดยมีค่า Therapeutic index มากกว่า 125 และมากกว่า 25 ตามลำดับ ส่วนสาร Liensinine และสาร Isoliensinine มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง โดยมีค่า EC50 น้อยกว่า 0.8 กรัม/ไมโครลิตร โดยมีค่า Therapeutic index มากกว่า 9.9 และมากกว่า 6.5 ตามลำดับ และสาร Nuciferine มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 0.8 กรัม/ไมโครลิตร โดยมีค่า Therapeutic index เท่ากับ 36

 

3. สาร อัลคาลอยด์ที่พบในบัวหลวง มีฤทธิ์ทำให้นอนหลับ ซึ่งจากผลการทดลองพบว่ามีผลทำให้หนูนอนหลับ โดยสารสกัดเมทานอลจากเหง้าบัวนั้นมีผลในการลดพฤติกรรมและกิจกรรมต่างๆ ของสัตว์ โดยเพิ่มการเกิด pentobarbitone-induced sleeping time ในหนูทดลอง

 

4. ราก บัวสามารถช่วยลดการดูดซึมของกลูโคสและทำให้ไม่ต้องปริมาณของอินซูลิน จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทั้งคนปกติและในผู้ป่วยเบาหวาน

 

5. เกสร และดอกบัวหลวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยเกสรตัวผู้จะมีฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีค่า EC50 42.05 ?g/ml

 

6. เกสร บัวหลวงตัวผู้มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยไปยับยั้ง advance glycation end products (AGE) และ rat lens aldose reductase (RLAR) โดยมีค่า IC50 125.48 และ 48.30 ?g/ml ตามลำดับ โดยฤทธิ์การยับยั้ง AGE และ RLAR นั้นมีผลต่อการลดการเกิดภาวะเบาหวาน

 

7. สารสกัดจากเกสร บัวหลวงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังได้ดี มีผลทำให้ชะลอการเจริญของเม็ดสี Melanin ได้ และยังช่วยทำให้ผิวหนังเต่งตึงขึ้น เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวประกอบไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ยับยั้งการทำงานของ Tyrosinase enzyme นอกจากนี้ยังพบ Vitamin A – Palminate ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่มเมื่อนำสารสกัดจากเกสรดังกล่าวมาผลิต เป็นเครื่องสำอางประเภท ครีมบำรุงผิว และครีมกันแดด

 

8. สารกสัดแอลกอฮอล์ของเกสรบัวหลวงในขนาด 10 ก./กก. ด้วยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ

 

9. สารสกัดที่ได้จากดอกและใบบัวหลวง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทุกชนิด

 

10. สารสกัดแอลกอฮอล์จากดีบัวมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ ?-Streptococcus group A

 

11. สารสกัด ด้วยน้ำจากดีบัว มีฤทธิ์ช่วยลดความโลหิต โดยสาร Demethylcoclaurine จากดีบัวมีฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบ ส่วนสาร Methylcorypalline มีฤทธิ์ในการช่วยขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และสาร Neferine มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต และช่วยต้านการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ โดยมีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

 

 

 

 

Credit : http://www.greenerald.com/

 8080
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์