ดอกโลดทะนงแดง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ ดอกมีสีขาว สีชมพู สีม่วงเข้มหรือเกือบดำ โดยช่อดอกจะออกบริเวณซอกใบและบริเวณกิ่งก้าน มีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะมีดอกตัวผู้จำนวนมากกว่าอยู่ที่บริเวณโคนของช่อ มีลักษณะตูมกลม และดอกตัวผู้จะมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ ก้านดอกมีขน มีกลีบดอก 5 กลีบ และไม่มีขน มีเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ก้านเกสรจะเชื่อมติดกันเป็นแท่งเดียว ส่วนดอกตัวเมียจะมีลักษณะตูมเป็นรูปไข่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และมีขน ที่จานฐานดอกล้อมรอบฐานของรังไข่ มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว โดยสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
สรรพคุณของโลดทะนงแดง
- โลดทะนงแดง สรรพคุณของรากใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้วัณโรค (ราก)
- ช่วยแก้หืด (ราก)
- ช่วยทำให้อาเจียน โดยใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ฝนกับน้ำกิน หรือใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกินก็ได้
- ใช้เป็นยาระบาย (ราก)
- ช่วยในการคุมกำเนิด (ราก)
- ช่วยถอนพิษคนกินยาเบื่อยาเมา ด้วยการใช้รากนำมาต้มน้ำดื่ม หรือใช้ฝนกับน้ำกิน ใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกินก็ได้
- ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ หรืออาการเสมหะหรืออุจจาระเป็นมูกเลือด (ใช้รากฝนกับน้ำกิน)
- รากใช้เข้ายากับน้ำมะนาว ใช้ฝนกับน้ำกิน ช่วยแก้อาการผิดสำแดง (ราก)
- แก้อาการเมาพิษเห็ดและหอย (ใช้รากฝนกับน้ำกิน)
- ช่วยแก้พิษแมงมุม (ใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกิน)
- ช่วย แก้พิษงู โดยใช้รากฝนกับน้ำมะนาวหรือเหล้านำมาดื่มแก้พิษงู หรือจะใช้รากผสมกับเมล็ดหมาก ฝนกับน้ำกิน แล้วใช้รากผสมกับน้ำมะนาว นำมาทาแผลจะช่วยแก้พิษงูที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทก็ได้ และให้นำส่วนที่เหลือมาผสมกับน้ำดื่มเพื่อช่วยขับพิษงูอีกทาง (ราก)
- ช่วยแก้อาการปวดฝี (ราก)
- รากใช้ฝนเกลื่อนฝี หรือใช้ดูดหนองเมื่อฝีแตก (ราก)
- รากนำมาใช้ฝนทาแก้อาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก (ราก)
- รากใช้ผสมกับปลาไหลเผือก และพญาไฟ ใช้ฝนกับน้ำกินถอนเมาเหล้า (ราก)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโลดทะนงแดง
- จาก การศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลอง ด้วยการป้อนน้ำยาสมุนไพรโลทะนงแดงที่ความเข้ม 50 กรัมต่อลิตร หลังจากหนูทดลองได้รับพิษงูเห่าด้วยการฉีดพิษเป็นเวลา 5 นาที พบว่าน้ำยาโลดทะนงแดงสามารถช่วยืดอายุการตายของหนูได้
- มีนักวิจัยพิสูจน์มาแล้วว่าสารจากโลดทะนง สามารถช่วยจับกับโปรตีนพิษงูได้จริง
ประโยชน์ของโลดทะนงแดง
- รากใช้ฝนกับน้ำกินช่วยทำให้เลิกดื่มเหล้า (ราก)
- เหง้าใช้ฝนทาแก้สิว แก้ฝ้า (เหง้า)
- โรง พยาบาลกาบเชิงได้มีการใช้ตำรับยาสมุนไพรโลดทะนงแดงในการรักษาผู้ที่ถูกงู เห่ากัดประมาณ 80 ราย โดยไม่ต้องใช้เซรุ่มแก้พิษงู และพบว่าทุกรายปลอดภัยไม่มีเสียชีวิต นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามเคยวิจัยโดยใช้สมุนไพรชนิดนี้ในการรักษา ตำรวจตระเวนชายแดนที่ถูกงูเห่ากัดจำนวน 36 นาย โดยไม่ใช้เซรุ่มแก้พิษในการรักษา และพบว่าได้ผลดีเกินคาด ไม่มีผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงอีกด้วย
- แม้ การใช้เซรุ่มจะแก้พิษงูเห่าได้ แต่แผลที่เปื่อยจากพิษงู เซรุ่มไม่ได้ช่วย ถ้าหากใช้โลดทะนงแดง พิษของงูก็จะสลายและแผลก็ไม่เปื่อย (นพ. วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์)
Credit : กรีนเนอรัลด์ ดอทคอม