สรรพคุณของเก๊กฮวย

แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น

แก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้

ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ

ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้

ช่วยบำรุงโลหิต

ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา

แก้อาการปวดศีรษะ

ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ดับพิษร้อนในร่างกาย แก้อาการร้อนใน แก้กระหาย แก้ไข้ : โดยใช้ดอกเก๊กฮวยแห้งประมาณ 5-9 กรัม ต้มกินหรือทำเป็นชา แล้วดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
รักษาแผลฝีหนอง และแผลบวม : โดยใช้ดอกเก๊กฮวยสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด บดผสมน้ำแล้วดื่ม จากนั้นนำกากดอกเก๊กฮวยมาพอกตามแผล
แก้อาการตาเจ็บ ตาบวม : ขนาดการใช้ ใช้ดอกแห้ง ประมาณ 5-9 กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา ในปริมาณที่เหมาะสม
**นอกจากนี้ดอกเก๊กฮวยยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกหลายตำรับอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปเก๊กฮวย
ดอกเบญจมาศ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ทั้งกิ่งก้านและใบของเบญจมาศมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกตรงปลายกิ่ง อาจออกเป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยวแล้วแต่สายพันธุ์ รูปร่างดอก ทรงกลมคล้ายทานตะวัน หรือบานชื่น มีกลีบเรียวยาวเรียงซ้อนกันโดยรอบหลายชั้น ลักษณะกลีบ ดอกบางสายพันธุ์ยาวมากและบิดม้วน มีชื่อเรียกเฉพาะว่าดอกประเภทแมงมุม (spider) ดอกเบญจมาศมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดโตมาก ไปจนถึง ดอกขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร มีสีหลากหลาย เช่น เหลือง ขาว ชมพู ม่วง แดง เป็นต้น แต่ในกลุ่มของดอกเบญจมาศทั้งหมดมี 2 ชนิด ที่นิยมนำมาทำน้ำเก็กฮวย หรือที่เรียกว่าดอกเก็กฮวย คือ
เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ กลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาวแต่ก็สามารถนำมาใช้ได้เหมือนกัน และมีสรรพคุณคล้ายกัน
ปลูกเอง เก็บเอง ขายเอง ปลอดภัย !!

