ยี่เข่ง ภาษาอังกฤษ Crape myrtle, Crape flower, Indian lilac (Yi-Kheng) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Lagerstroemia indica L. จัดอยู่ในวงศ์ Lythraceae มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกเช่น คำฮ่อ (ภาคเหนือ), จีหมุ่ยอวย (จีน-แต้จิ๋ว) โดยต้นยี่เข่งนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตหนาว
ความแตกต่างระหว่างต้นยี่เข่งกับต้นตะแบก บางคนอาจจะสับสนได้เพราะดอกของทั้งสองต้นนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกันมาก หากจะแยกให้ออกต้องสังเกตลักษณะของลำต้น ซึ่งต้นยี่เข่งจะแตกกิ่งก้านขึ้นไปเป็นพุ่มอยู่ด้านบนของต้น และต้นจะไม่สูงมากนัก ส่วนต้นตะแบกนั้นจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นจะเป็นลำเดี่ยว ตั้งตรงมีขนาดใหญ่ และมีกิ่งก้านขนาดที่เล็กกว่า!
ประโยชน์ของยี่เข่ง
- เปลือกต้นยี่เข่งใช้เป็นยาลดไข้ได้ (เปลือกต้น)
- ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น (ราก)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากยี่เข่งผสมกับเนื้อหมูต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
- เปลือกต้นยี่เข่งมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้นกระเพาะอาหาร ส่วนต้นและใบจะมีฤทธิ์ในการยับยั้ง (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้บิด จะใช้ใบหรือรากยี่เข่งก็ได้นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ,ราก)
- ช่วยแก้โรคหนองใน ด้วยการใช้ดอกแห้ง 3-10 กรัม หรือจะใช้ดอกสด 15-30 กรัมต้มกับน้ำใช้ชะล้าง (ดอกยี่เข่ง)
- ช่วยแก้อาการตกเลือดหลังคลอดบุตรด้วยการใช้ดอกยี่เข่งสดต้มกับน้ำกินทั้งกาก (ดอกยี่เข่ง)
- ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดนำมาต้มกับน้ำแล้วใช้ชะล้าง หรือจะนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นก็ได้ (ใบ)
- ช่วยรักษาบาดแผลสด ด้วยการใช้ใบที่ตากแห้งแล้วนำมาบดเป็นผงแล้วนำมาโรยบริเวณบาดแผล (ใบ)
- ช่วยรักษาแผลฝี แผลหนองที่หนังศีรษะ กลากเกลื้อน ด้วยการใช้ดอกหรือรากแห้ง 3-10 กรัม หรือจะดอกสดหรือรากสดประมาณ 15-30 กรัมก็ได้ นำมาบดผสมกับน้ำส้มสายชูแล้วทาบริเวณที่เป็น หรือจะนำไปต้มกับน้ำใช้ชะล้างหรือรับประทานก็ได้ (ดอกยี่เข่ง,ราก)
- เรานิยมปลูกต้นยี่เข่งไว้เป็นไม้ประดับในบ้านหรือในสวน หรือจะปลูกเป็นแนวรั้วเขตริมทาง เพราะให้ดอกสีชมพูสีสันสดใส อึดและทนแร้ง และดูแลง่าย (ต้นยี่เข่ง)
Credit : Greenerald.com