ผักโขมหนาม ชื่อท้องถิ่นในภาคใต้เรียกว่า ผักโหมหนาม , แม่ฮ่องสอน และกะเหรี่ยง เรียกว่า กะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่ , เขมรเรียกว่า ปะตี ส่วนภาคกลางจะเรียกว่า ผักขมสวน เป็นพืชล้มลุก ในตำรายาไทย จะใช้ทั้งต้น ใบ และราก
สำหรับประเทศไทย ใช้เป็นยาบรรเทาอากาศตกเลือด แน่นท้อง ใช้ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ , ใบ ในอินโดนีเซียนำมาใช้ในการฟอกเลือด หรือพอกแผล ในอินเดีย ใบไปต้มกับราก ใช้รักษาอาการค้นที่ผิวหนังโดยการนำไปอาบ และเป็นยาระบายในเด็ก หรือจะนำใบมาตำพอกปิดแผลที่เป็นหนอง แก้ น้ำร้อนลวกหรือถูกไฟไหม้ แก้พิษงู , ราก ในอินเดีย ทำเป็นยาแก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้อาการจุกเสียดรักษากามโรค เป็นยาขับ และส่งเสริมการไหลของน้ำนม ในอินโดนีเซีย จะนำรากไปต้มดื่ม ใช้ขับปัสสาวะ
มีข้อมูลการใช้ที่น่าสนใจ ระบุว่า ยาพื้นบ้านของชาวล้านนาจะใช้ รากเผาไฟจี้ที่หัวฝีช่วยให้ฝีที่แก่แตกหรือผสมข้าวโพดทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้บวม คนโบราณนิยมนำมารับประทานเป็นผัก หรือนำลำต้นไปประกอบอาหาร โดยจะลอกเปลือกและหนามออก
คุณค่าทางโภชนาการพบว่า ในใบผักโขมหนามส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม พบ เบต้าแคโรทีน 4-8 มิลลิกรัม , วิตามินซี 60-120 มิลลิกรัม , เหล็ก 4-9 มิลลิกรัม และแคลเซียม 300-400 มิลลิกรัม ถือว่า ผักโขมหนามเป็นผักที่มีวิตามินซีสูง ชนิดหนึ่ง
นอกจากนี้จากการงานศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ของผักโขมหนาม เราพบว่า ผักโขมมีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับ ช่วยลดปริมาณอนุมูลอิสระ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากประเทศบราซิล ระบุว่า ผักโขมหนาม มีพิษต่อ วัว ควาย และ ม้า ทำให้สัตว์เหล่านี้มีอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องเสียกลิ่นเหม็น บางครั้งอาจมีเลือดปนในอุจจาระได้
Credit : Thaihealth