การอบสมุนไพรเป็นวิธีการบำบัดรักษา และส่งเสริมสุขภาพตามหลักของการแพทย์ไทยด้วยสมุนไทยๆ ที่หาได้ตามท้องถิ่น โดยใช้การอบสมุนไพรนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ช่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากขึ้น ขยายรูขุมขน ทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น ช่วยละลายเสมหะ ลดอาการอักเสบและบวมที่เหยื่อบุทางเดินหายใจตอนบน ลดการระคายเคืองในลำคอ อีกทั้งเมื่ออบแล้วจะทำให้รู้สึกสบายตัว
ลดอาการปวดศีรษะด้วย
ลักษณะสมุนไพรที่ใช้ในการในการอบนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะอบสมุนไพร เราทำความรู้จักสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละตัวกันก่อนสักเล็กน้อย เพื่อที่เราจะเลือกสมุนไพรมาอบให้ถูกกับความต้องการ เช่น “ไพล” แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว “ขมิ้นชัน” แก้โรคผิวหนังสมานแผล “กระชาย” แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ใจสั่น “ตะไคร้” ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ “ใบมะขาม” แก่อาการคันตามร่างกาย “ใบเปล้าใหญ่” ช่วยถอนผิดสำแดง บำรุงผิวพรรณ "ใบ-ลูกมะกรูด" แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
“ใบหนาด” แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย “ใบส้มป่อย” แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย “ว่านน้ำ” ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
“พิมเสน การบูร” บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง “เหงือกปลาหมอ” แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย “ชะลูด” แก้ร้อนใน
กระสับกระส่าย ดีพิการ “กระวาน” แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว และ “เกสรทั้ง 5” ช่วยระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
ทั้งนี้ โรคทุกไม่สามารถรักษาด้วยสมุนไพรได้หมด แต่โรคและอาการที่เหมาะแก่การรักษาด้วยการอบสมุนไพร ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ในระยะอาการที่ไม่รุนแรง เป็นหวัด น้ำมูกไหล โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บเฉพาะที่ หรือเป็นเฉพาะที่มีหลายตำแหน่ง เช่นอำมพาต ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือาการบางอย่าง เช่น ยอก โรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคเกาต์ ซึ่งโรคเหล่านี้อาจจะต้องใช้การอบสมุนไพรร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม อย่างเช่น หัตเวชกรรม ประคบสมุนไพร นอกจากนี้การอบสมุนไพรยังช่วยในเรื่องของสุขภาพแม่หลังคลอดบุตรด้วย
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การอบสมุนไพรยังมีข้อควรระวังอยู่ โดยข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร มีทั้งหมด 7 ข้อ คือ
หากคุณผ่านฉลุยสำหรับข้อห้ามในการอบสมุนไพร ก็ลงมืออบสมุนไพรได้เลย ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
Credit : http://www.manager.co.th