ภาวะแพ้ อาหารแฝง (Food Intolerance) แตกต่างกับอาการแพ้อาหารฉับพลัน (Food Allergy) ตรงที่จะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่จะมีอาการหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 23 วัน โดยอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว อ่อนเพลียเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ปวดเมื่อย สมาธิสั้น เป็นสิว ไมเกรน ฯลฯ
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว กลายเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน กระดูกพรุน โลหิตจาง ไทรอยด์เป็นพิษ หลอดเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ชนิดของอาหารที่ทำให้เกิดภาวะแพ้อาหารแฝงที่พบบ่อย ได้แก่ แลกโตสในนม กลูเทนในข้าวสาลี สารปรุงแต่งอาหารต่างๆ เช่น ผงชูรส สารกันบูด ฯลฯ ในบางรายอาจเกิดอาการหน้าแดงเมื่อดื่มไวน์แดง หรือแม้แต่ช็อกโกแลตและเนยแข็ง ก็สามารถกระตุ้นอาการปวดหัวและไมเกรนในบางคนได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะหยุดรับประทานอาหารชนิดใดๆ เนื่องจากภาวะแพ้ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแนะนำวิธีปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารทดแทนที่เหมาะสม สร้างความสมดุลของร่างกาย เนื่องจากการหยุดรับประทานอาหารชนิดนั้นๆ อาจมีผลทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญได้
Credit : Thaihealth.or.th