อันตรายจาก ''สคิซโซฟรีเนีย''

อันตรายจาก ''สคิซโซฟรีเนีย''

 

 

 

 

       การได้ยินเสียงเองหรือการเข้าใจเอาว่ามีผู้ใช้อุปกรณ์เพื่อแทรกซึมเข้าสู่ตัวทำนองนี้เป็นอาการที่ส่อชัดเจนถึงอาการ สคิซโซฟรีเนียประเภทหวาดระแวง ซึ่งถือเป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่ง

 

       แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นหลังเกิดกรณีสังหารหมู่ 13 ศพที่สถานีทหารเรือวอชิงตันเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่ "อารอน อเล็กซิส" ฆาตกรผู้ลงมือจะเป็นผู้ป่วยทางจิตประเภท 

"สคิซโซฟรีเนีย" หรือโรคจิตเภท ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากสื่อและรายงานของสำนักงานตำรวจเมืองนิวพอร์ท ซึ่ง นิวยอร์ก ไทม์ส ระบุว่า นายอเล็กซิส อดีตทหารเรือเคยขอรับความช่วยเหลือจากปัญหาทางจิตจาก สำนักงานกิจการทหารผ่านศึกมาแล้ว

 

       ในขณะที่ รายงานของสำนักงานตำรวจนิวพอร์ท รัฐโรดไอส์แลนด์ ระบุเอาไว้ว่า เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นายอเล็กซิส เคยโทรศัพท์ไปร้องเรียนกับตำรวจว่า "มีคน 3 คนพูดกับผมผ่านพื้นห้อง" และ "คนเหล่านี้ใช้อุปกรณ์ที่มีคลื่นไมโครเวฟบางอย่างเพื่อส่งสัญญาณสั่นสะเทือนผ่านเพดานห้อง แทรกซึมเข้าไปในร่างกายของผม จนทำให้ผมนอนไม่หลับ"

 

       ดร. อี. ฟุลเลอร์ ทอร์เรย์ ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งวิทยาศาสตร์สุขภาพของสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า การได้ยินเสียงเองหรือการเข้าใจเอาว่ามีผู้ใช้อุปกรณ์เพื่อแทรกซึมเข้าสู่ตัวทำนองนี้เป็นอาการที่ส่อชัดเจนถึงอาการ สคิซโซฟรีเนียประเภทหวาดระแวง ซึ่งถือเป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่ง แบบเดียวกับโรคพาร์กินสันหรืออัลไซเมอร์ ในขณะที่ ดร.ดักลาส มอสส์แมน ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซินซินนาติ บอกว่า สคิซโซฟรีเนีย มักเกิดขึ้นในช่วงปลายวัยรุ่น ต่อเนื่องกับการเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่ ในผู้ชาย อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นในช่วงปลายๆ วัยรุ่น คือ 17-19 ปีจนถึงวัย 20 ปีต้นๆ ส่วนผู้หญิงจะเกิดขึ้นช้ากว่า โดยจะเป็นช่วงวัย 20 ตอนปลายขึ้นไป โดยจะค่อยเป็นค่อยไปเหมือนๆ กัน

 

       ตามสถิติมีคนอเมริกันเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ป่วยเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยชี้ชัดเจนว่า

สคิซโซฟรีเนีย ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่บุคคลจะแสดงออกอย่างรุนแรง หรือก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขาดการรักษาหรือไม่ได้รับยาที่เหมาะสมตามอาการ

 

 

 

 

Credit : Thaihealth

 1206
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์