- ยาเม็ด ยาจะแตกร่วน สีเปลี่ยนไป มีจุดด่าง ขึ้นรา
- ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล เม็ดยาอาจเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืนหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม
- ยาแคปซูล สังเกตว่าแคปซูลจะบวม พองออก หรือจับกัน ผงยาในแคปซูลเปลี่ยนสี เช่น ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อไตมาก
- ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ทาแก้คัน หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สี หรือรสเปลี่ยนไป
- ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุ ยาจะมีลักษณะขุ่นมีตะกอน ผงตัวยาละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว
- ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าพบว่าเนื้อยาแข็งหรืออ่อนกว่าเดิม เนื้อไม่เรียบ เนื้อยาแห้งแข็ง หรือสีของยาเปลี่ยนไป
วิธีการดูว่ายาหมดอายุ คือ ดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา และถ้ายานั้นไม่มีวันบอกหมดอายุ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งโดยปกติ ถ้าเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปี และถ้าเป็นยาหยอดตาหากเปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือน และครั้งหน้าถ้าจะรับประทานยา อย่าลืมสังเกตดูวันหมดอายุก่อนรับประทานยากันด้วย
Credit : Thaihealth, เว็บไซต์ astv ผู้จัดการ