
"สมุนไพรว่านหางช้าง" ที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพืชคนละชนิดกันกับ “ว่านเพชรหึง” ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Grammatophyllum speciosum Blume เพียงแต่ว่าว่านเพชรหึงนี้มีชื่อเรียกในท้องถิ่นทางภาคใต้ว่า “ว่านหางช้าง” และมีลักษณะของดอกที่คล้ายกัน จึงอาจทำให้เกิดความสับสนและเกิดการเข้าใจผิดได้
สรรพคุณของว่านหางช้าง
- เนื้อในของลำต้น ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เนื้อในของลำต้น,เหง้า)
- ว่านหางช้าง สรรพคุณของเหง้าใช้เป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)
- ช่วยรักษาอาการไอ หรืออาการหอบหืด ด้วยการใช้เหง้าแห้งประมาณ 6 กรัม, ขิงแห้ง 3 กรัม, ลูกพรุนจีน 4 ผล, มั่วอึ้งแห้ง 3 กรัม, โส่ยชินแห้ง 2 กรัม, โงวบี่จี้แห้ง 2 กรัม, จี่อ้วงแห้ง 10 กรัม, จี้ปั้วแห่แห้ง 10 กรัม, และค่วงตังฮวยแห้ง 6 กรัม, นำทั้งหมดมาต้มรวมกัน แล้วเอาแต่น้ำที่ได้มากิน (เหง้า)
- รากหรือเหง้าสด มีสรรพคุณช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยให้ใช้รากหรือเหง้าสดประมาณ 5-10 กรัม (ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 3-6 กรัม) นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เหง้าสดประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำชุบสำลีอมแล้วกลืนแต่น้ำช้าๆ (เหง้า)
- สรรพคุณว่านหางช้าง เหง้าช่วยขับเสมหะ (เหง้า)
- ช่วยบำบัดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ (เนื้อในลำต้น)
- ช่วยรักโรคคางทูม ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 10-15 กรัม นำไปต้มน้ำกินหลังอาหารวันละ 2 เวลา (เหง้า)
- ทั้งต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการท้องผูก อาหารไม่ย่อยได้ (ทังต้น)
- ช่วยรักษาอาการท้องมาน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำกินบ่อยๆ (เหง้า)
- ใบใช้เป็นยาระบายอุจจาระ ด้วยการใช้ใบว่านหางช้าง 3 ใบ นำมาปรุงเป็นยาต้มรับประทาน (ใบ), เนื้อในของลำต้นใช้เป็นยาถ่าย (เนื้อในของลำต้น, เหง้า)
- ช่วยแก้ระดูพิการ ประจำเดือนไม่ปกติของสตรีได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ใบ 3 ใบ นำมาปรุงเป็นยาต้มรับประทาน (ใบ,เนื้อในของลำต้น,เหง้า)
- ช่วย รักษาผดผื่นคันมีน้ำเหลืองที่ขาเนื่องจากการทำยา โดยใช้เหง้าแห้งใส่น้ำต้มจนเดือดผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (เหง้า)
- ช่วย รักษาฝีประคำร้อย ด้วยการใช้เหง้าแห้ง แห่โกวเช่าแห้ง เหลี่ยงเคี้ยว อย่างละเท่าๆ กัน นำมาบดเป็นผง ใช้ผสมทำเป็นยาเม็ดไว้กินหลังอาหารครั้งละ 3 กรัม (เหง้า)
- ช่วยรักษาฝีที่เต้านมบวมมีหนองในระยะ เริ่มแรก ด้วยการใช้เหง้าแห้ง 1 เหง้า และรากดอกไม้จีนประมาณ 10 กรัม นำมาบดรวมกันให้เป็นผง แล้วใช้ผสมกับน้ำผึ้งกิน (เหง้า)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของว่านหางช้าง
- มี ฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบ Tectoridin และ Tectorigenin และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ Hyaluronidase จึงช่วยรักษาอาการบวมอักเสบของหนูใหญ่ อันเนื่องมาจากเอนไซม์ Hyaluronidase
- มี ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยน้ำต้มที่ได้จากการสกัดหรือน้ำแช่สกัดจากเหง้า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลาก (Tinea) และยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดหนอง และเชื้อที่ทำให้เกิดคออักเสบ
- สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ หรือน้ำจากเหง้า มีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำลายในกระต่าย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างเอสโตเจนอีกด้วย แต่ไม่สามารถช่วยป้องกันอาการอักเสบของหนูเล็กที่เกิดจากการฉายรังสีเอ็กซ์ ในความเข้มสูงได้ และไม่มีฤทธิ์ในการเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ (จำพวกฟีโนบาบิโทน)
- สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเหล้า เมื่อฉีดเข้ากระต่ายบ้าน จะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้
ประโยชน์ของว่านหางช้าง
- เนื่อง จากต้นว่านหางช้างมีความโดดเด่นสวยงาม มีลำต้นที่สูงยาวสีเหลืองเปรียบเสมือนทอง จึงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ และมีเชื่อว่าจะช่วยเสริมโชคลาภ ความสง่างาม เสริมสง่าราศีให้แก่เจ้าบ้าน และยังใช้เพื่อช่วยปรับฮวงจุ้ยตามหลักความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย
- มีความเชื่อว่านหางช้างเป็นว่านมหาคุณ เมื่อนำมาปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยป้องกันสิ่งอัปมงคลเข้าบ้าน ช่วยป้องกันภัยจากอันตรายต่างๆ ส่วนทางภาคอีสานเชื่อว่าเป็นว่านสิริมงคล หากแม่บ้านกำลังจะคลอดบุตร ให้ใช้ว่านหางช้างมาพัดโบกที่ท้องก็จะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น
- ประโยชน์ว่านหางช้าง ยังถูกนำมาใช้ในด้านคุณไสยได้อีกด้วย โดยใช้ดอกแก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจากผม ส่วนใบใช้แก้ไสยคุณอันเกิดจากการกระทำจากเนื้อ ส่วนต้นใช้แก้ไสยคุณอันเกิดจากการกระทำจากกระดูก
Credit : ฟาร์มดี (ฟาร์มไส้เดือนของคนพิการ)