ลูกเกด

ลูกเกด

 

ลูกเกด

 

 

 

       ลูกเกด คือ องุ่นพันธุ์ raisin ที่ปลูกเพื่อใช้ผลทำลูกเกดไม่มีเมล็ด รสหวานนำไปตากแดด ซึ่งจะได้ลูกเกดที่มีสีดำ หรือทำการอบแห้งด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะได้ลูกเกดสีทอง

 

       จากงานวิจัยของ วิทยาลัย ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Illinois แห่ง Chicago, USA. พบว่า พฤกษเคมี (Phytochemical) ในลูกเกดสามารถใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากบางสายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคในช่องปากได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อใส่ลูกเกดในขนมหวานจึงช่วยยืดอายุของขนมหวานนั้นได้มากกว่าปกติ ส่วนตำราอายุรเวทของอินเดียยกย่องว่าลูกเกดสีดำ มีสรรพคุณบำรุงร่างกายโดยเฉพาะบำรุงเลือดและแก้ไอแก้หอบหืดได้ดี

 

ลูกเกดช่วยลดความดัน

 

       นายแพทย์ ฮาโรล์ด เบย์ (Harold Bays) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย เมตาบอลิกและหลอดเลือด ลูอิสวิลล์

(Louisville Metabolic and Atherosclerosis Research Center) ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับทีมวิจัยศึกษาความเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตหลังกินลูกเกด เปรียบเทียบกับการกินขนมขบเคี้ยวทั่วไปที่วางขายในท้องตลาด ทีมวิจัยทดลองโดยให้อาสาสมัครผู้เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง (prehypertension) กลุ่มแรกกินลูกเกด ส่วนอีกกลุ่มกินขนมชนิดอื่นซึ่งให้พลังงานใกล้เคียงกันโดยกินก่อนอาหาร 3 มื้อ นาน 12 สัปดาห์

 

       ผลปรากฏว่า ผู้ที่กินลูกเกดมีระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood presure) ] ลดลง 5 – 7 มิลลิเมตรปรอท และความดันขณะหัวใจคลายตัว (diastolic blood presure) ลดลง 6 – 10 มิลลิเมตรปรอท  แม้การศึกษานี้ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดลูกเกดจึงช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่จากข้อมูลของ กรมวิชาการเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา

(United states Department of Agriculture) ระบุว่า ลูกเกดครึ่งถ้วยตวงมีมีโพแทสเซียมสูงถึง 456 มิลลิกรัม คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการใน 1 วัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต

 

เลือกและเก็บอย่างไร

 

       ควรเลือกลูกเกดที่บรรจุในภาชนะโปร่งใส ปิดสนิท ไม่มีไอน้ำเกาะภายในบรรจุภัณฑ์ หรือระบุแหล่งผลิตและวันหมดอายุชัดเจน ลูกเกดควรมีขนาดสม่ำเสมอ เนื้อนิ่ม หากใช้ไม่หมดควรใช้ยางรัดปากถุงให้แน่น หรือใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด เก็บในตู้เย็นเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ทั้งนี้เพื่อความสดใหม่และมีรสชาติดีไม่ควรเก็บนานเกิน 6 เดือน คุณประโยชน์จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อกินร่วมกับเมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งาคั่ว และถั่วต่างๆ ค่ะ

 

 

 

 

 

Credit : นิตยสารชีวจิต, สนุกดอทคอม, รูปจาก foodimentary.com

 5012
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์